วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

มุ่งสู่การพัฒนาองค์กรการศึกษาให้เป็น Learning Organization

หากคำตอบของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมายถึง งบประมาณที่ถูกใช้ในการจัดการศึกษา รวมถึงงบประมาณที่นำมาใช้ในการลงทุนกับเทคโนโลยีและรูปแบบในการจัดการศึกษาเพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีนั้นแล้ว คุณภาพของบุคลากรทางการศึกษาอาจเป็นคำตอบสำคัญที่ไม่สามารถอ้างอิงกับตัวเลขงบประมาณที่ทุ่มลงไปได้ การพัฒนาคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งไม่ใช่แค่เพียง E-learning เพราะสิ่งที่ต้องการไม่ใช่เพียงให้ได้เรียนรู้ แต่บุคลากรทางการศึกษามีความจำเป็นจะต้องแปลง Knowledge เป็น Wisdom ได้ด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีส่วนประกอบมากกว่าแค่เพียง E-learning คือจะต้องมีส่วนประกอบที่จะนำเอาความรู้มาจัดเก็บ รวบรวมให้มีฐานความรู้ที่มากเพียงพอที่จะเกิดประโยชน์ได้ และกระจายความรู้ออกไปเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้เรียนรู้ตลอดเวลา นอกจากนี้บุคลากรทางการศึกษาเองก็ต้องมีการปรับตัวด้วยคือ ต้องมีความกระหายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนางานและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น และแน่นอน จำเป็นต้องมีการเปลี่ยน Culture ของคนและสร้างแรงกระตุ้นเพิ่มด้วย เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้ามาเรียนรู้จากระบบ (Self-Learning) ผ่านเทคโนโลยีการถ่ายทอดความรู้ ดังเช่นที่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดว่า จุดสำคัญอยู่ที่การบริหาร ทูลส์เป็นส่วนเสริมนั่นเอง ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีการถ่ายทอดความรู้ ด้วยสตรีมมิ่งวีดีโอ ของเครือซิเมนต์ไทย โดยปูนซิเมนต์ไทยนำซอฟแวร์ AcuLe@rn มาใช้ในการจัดเก็บความรู้และส่งกระจายไปยังพนักงาน โดยการถ่ายทอดสดผ่านอินทราเน็ต ซึ่งได้ผลสรุปดังนี้ 

ขั้นที่ 1 ทำการถ่ายทอดสดได้จากทุกจุด ที่มีสาย LAN ไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในอินทราเน็ตได้ โดยไม่เป็นอุปสรรค รบกวนงานอื่น ๆ บนเครือข่าย โดยมีรายละเอียดดังนี้ - Bandwidth Consumption เท่ากับ 218 Kbps ต่อ 1 session ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับแบนด์วิธด์ 1 Gb ของ Cementhai Network และไม่ทำให้ระบบงานอื่นช้าลง - Boardcast Method เป็นการกระจายแบบ Multicast ซึ่งจะช่วยลดโหลดการใช้แบนด์วิดธ์ลง เนื่องจากระบบนี้จะส่งผ่านข้อมูลระหว่างจุดต่าง ๆ เพียง 1 session เท่านั้น โดยกระจายทราฟฟิกโหลดไปตามสวิทซ์ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ฮับตามชั้นต่าง ๆ ในบริเวณ 

ขั้นที่ 2 สำหรับการถ่ายทอดสดไปยังเครือข่ายที่อยู่นอกบริเวณ จำเป็นต้องใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์และซอฟแวร์เพิ่มเติม คือ AcuSTREAM และ AcuMANAGER เพื่อทำหน้าที่จัดทราฟฟิกของแบ็กโบนระหว่างภายในบริเวณกับ WAN ที่อยู่นอกบริเวณ 


หมายเหตุ 

1. AcuSTUDIO/LIVE, AcuSTREAM และ AcuMANAGER เป็นซอฟต์แวร์ในชุด AcuLe@rn ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาคอนเทนต์ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถกระจายคอนเทนต์ที่เป็นมัลติมีเดีย ทั้งวิดีโอ เสียง และพรีเซนเทชันไปตามเน็ตเวิร์กภายในและ WAN


2. ก้าวต่อไป ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา (Classroom Technology) ห้องเรียนที่ติดตั้งอุปกรณ์ทันสมัยและเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ (Virtual Classroomหรือห้องเรียนเสมือน ที่ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับครูผู้สอน วิทยากรและผู้เรียนอื่น ๆ ในลักษณะ Two-way Communication และสามารถจำลองสถานการณ์ หรือการทดลองต่าง ๆ ได้เสมือนจริง - Blended Learning Technology โดยนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสรรหาซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันสมัย จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาผ่านบุคลากรทางการศึกษาที่นับว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการเดินเครื่องเพื่อให้การศึกษาของชาติได้พัฒนาไปอย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ซึ่งนับว่ามีบทบาทไม่น้อยในการที่จะเป็นส่วนส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาบุคลากรที่สำคัญของชาติ โดยมีคุณภาพของเยาวชนไทยในอนาคต ที่จะเป็นคำตอบสุดท้ายในการจัดการคุณภาพการศึกษาของชาติในวันนี้ ข้อมูล เทคโนโลยีการถ่ายทอด ของ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด จาก นิตยสาร



Intranet



E-Learning








การเชื่อมโยงเครือข่าย (Network Connection)

การเชื่อมโยงเครือข่าย (Network Connection)


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สถาบันการศึกษา โดยการนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อจะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลและเครื่องพิมพ์ ซึ่งระบบเครือข่ายของสถานศึกษาขนาดใหญ่และมีฐานข้อมูลจำนวนมากสามารถเลือกใช้รูปแบบ Hybrid ที่เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานทีมีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน

Hybrid network



ตลอดจนการใช้โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล หรือ ไอเอสดีเอ็น (Integrated Services Digital Network, ISDN) ส่วนที่สัมพันธ์กับการพัฒนาโครงแบบเครือข่าย ไอเอสดีเอ็น เพื่อรองรับการสื่อสารในรูปของเสียง, ข้อมูล, ภาพ และ วิดีทัศน์ ทั่วโลก ไอเอสดีเอ็น จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ด้วยรูปแบบเดียว คือเป็นเครือข่ายดิจิทัลกับกลุ่มของตัวประมวลผลสื่อสารที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้บริการ เสียง ข้อมูล ภาพ และวีดิทัศน์ กับเครื่องปลายทางต่าง ๆ ในเครือข่ายพาห์ (carrier) สื่อสาร ไอเอสดีเอ็น จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโทรคมนาคม และ เครือข่ายการส่งผ่านเสียง, วีดิทัศน์ ข้อมูล สามารถดำเนินการผ่านกิจการโทรศัพท์ และสายโทรศัพท์ธรรมดาในบ้าน, สำนักงาน เพียงแต่ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์ภาพ (Videophone) กับ เต้ารับโทรศัพท์ ดังนั้น ไอเอสดีเอ็นจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หลายสื่อ (Multimedia computing) และการสื่อสาร อย่างไรก็ตามการพัฒนาดังกล่าวยังคงอยู่กับพาห์สื่อสาร, ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ และองค์กรผู้ใช้ ซึ่งพบว่าในการเชื่อมโยงเครือข่ายลักษณะนี้ E-Education จะมีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล ดังนี้ วิธีการป้องกันข้อมูลทำได้ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) 


การเข้ารหัสข้อมูลนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดังนี้

1.ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร (Authentication)

2.ใช้ในการพิสูจน์ว่าได้มีการบันทึกหรือกระทำรายการจริง (Non-repudiation)

3.ใช้ในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy) นอกจากนี้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล


และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้นี้ เกิดประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น

1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิมพ์คนละประเภท)

2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึกไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม

3. การติดต่อสื่อสาร โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย

            4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบ เน็ตเวิร์ก สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิตอลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบัน

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Networks System)

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Networks System)


โครงสร้างระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงานการศึกษา (WAN) เพื่อการให้บริการที่ครอบคลุม ระบบการติดต่อสื่อสารภายใน (LAN) ระบบศูนย์ข้อมูล (Data Center) รวมถึงโครงการชั้นเรียนอัจฉริยะ (Intelligent Classroom) เครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัยผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (e-Workplace), Lab Cisco Academy และซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมถึงซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการงานสถาบันการศึกษา ที่ใช้ระบบ TCMS ดังกล่าว เพราะจะเกิดประโยชน์กับการจัดการศึกษา ได้คือ ขยายตลาดการศึกษาและการบริการออกไปอย่างกว้างขวาง เพราะเครือข่ายอินเตอร์เน็ตครอบคลุมกลุ่มผู้เรียนทั่วโลก สามารถใช้เป็นช่องทางเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้สนใจเรียนในสาขานั้นได้ดีขึ้นหรือโดยตรง (เช่น ในลักษณะของ Direct Electronic Mailing)

WAN (Wide Area Network)


เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลอันมหาศาลที่สามารถช่วยทำการวิจัยการตลาดและการพัฒนาสินค้าได้อย่างประหยัด สามารถทำธุรกิจการศึกษาระหว่างสถาบันกันและกันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ช่วยให้การบริหาร การตรวจสอบ การจัดจำหน่ายสื่อการศึกษา การทำธุรกรรมทางการรับชำระเงินลงทะเบียนเรียน รวดเร็วมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Internet


จะเห็นได้ว่าระบบเครือข่าย มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการลงทุน ซึ่งอาจจะเป็นการรื้อและปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งระบบ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต และต้องรองรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยสามารถดำเนินการระบบเครือข่ายที่สำคัญได้ดังนี้ LAN (Local Area Network) ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ

LAN (Local Area Network)


หรือการใช้เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้

Wireless LAN


การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน้ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย  WAN (Wide Area Network) ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย (Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (Integrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)
(Access Point)

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-education)

              E-Education หรือการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการนำเทคโนโลยีที่จะช่วยให้กระบวนการจัดระบบการศึกษา (Education System) เป็นการทำงานตามขั้นตอน (Workflow) เป็นไปอย่างอัตโนมัติจนเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย โดยในการลงทุนจะประกอบไปด้วยเพียงคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ที่สามารถเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์ก ทั้งภายในและภายนอกผ่านอุปกรณ์โมเด็มได้ และคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server และเลือกใช้ฮับคุณภาพดีในการกระจายสัญญาณเพิ่มในเครือข่ายได้เท่านั้น

              โดยระบบ e-education ของสถานศึกษาอาจต้องประกอบด้วย ระบบการเรียนการสอน วัดประเมินผลการเรียน ตลอดจนระบบการวิเคราะห์การเรียนการสอน การสอน วิเคราะห์ข้อสอบ เก็บประวัติสถิติ และสามารถประมวลผลทางระบบงาน On-Line Real Time ได้ทั้งหมด พร้อมระบบมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูล ดังตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท ไอไอทีซี เอสดีเอ็น. บีเอชดี. จากประเทศมาเลเซีย และบริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนกับระบบ e-university โดยใช้ชื่อระบบว่า Total Campus Management Solution หรือ TCMS ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการงานด้านสถานศึกษา ตั้งแต่การรับนักศึกษาจนถึงการจบการศึกษา ตลอดจนได้พัฒนาและติดตั้งซอฟต์แวร์ นี้ขึ้นในมหาวิทยาลัยโดยเริ่มใช้โมดูล Student Lifecycle System หรือ SLS ในการให้บริการระบบลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บให้กับนักศึกษา และต่อไปจะเป็นการติดตั้งโมดูล MIS หรือ Management Information System เพราะเป็นหัวใจของการบริหาร ตามด้วยโมดูล LIS (Library Information System) และ EIS (Executive Information System) TCMS SOLUTION ตัวอย่างการพัฒนาการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี ผ่านระบบ TCMS ที่มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่นำมาใช้จะทำงานบนเว็บเบส ภายใต้ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ 2000 และมีไมโครซอฟต์เอสคิวแอลเซิร์ฟเวอร์ 2000 เป็นระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล โดยทุกโมดูลสามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่มีปัญหา ทำให้ทางมหาวิทยาลัยสามารถติดตั้งทีละโมดูลที่จำเป็นก่อนได้ นับว่าช่วยในการบริหารการลงทุนได้เป็นอย่างดี โดยทั้งนี้มหาวิทยาลัยฯ ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ใช้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการส่งเสริมศักยภาพของทีมงานและคณาจารย์ รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดศูนย์การศึกษาแบบ Education on Demand ซึ่งประกอบด้วยการใช้ไอทีในการสร้าง e-Workplace ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่องานบริการการศึกษา การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารระบบแบบรวมศูนย์ การใช้ไอทีในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ Intelligent Learning เพื่อส่งเสริมระบบการเรียนการสอนแบบ Interactive นอกจากนี้ ยังวางแผนขยายผลจากไอทีที่มีอยู่ในการสร้างเครือข่ายบริการสื่อสารการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต 

              การสร้างหลักสูตรการศึกษาแบบ e-learning เพื่อให้บริการนักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในอนาคตแล้ว นอร์ท-เชียงใหม่ต้องการเดินหน้าด้วยเทคโนโลยีเพื่อให้สถาบันแห่งนี้ก้าวสู่การเป็น e-University จะเห็นได้ว่า เป็นการลงระบบแบบกระโดดทีเดียว 5 ขั้น ซึ่งไม่ใช้ฟรีแวร์ เพราะต้องการการซัพพอร์ต เพราะไอเอสพีแต่ละรายเห็นโอกาสและศักยภาพการขยายงานด้านไอทีต่อไปได้ ซึ่งจะเกิดการสร้างคนที่มีความรู้ที่หลากหลาย คนที่จบออกไปก็สามารถนำไปใช้ได้ 

              ประโยชน์ของ E-Education ต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาและการเอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียน โดยสรุปมีดังนี้  
1. ลดช่องว่างการแข่งขันระหว่างองค์กรหรือสถาบันการศึกษาทั่งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้องค์กรสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ต้องปรับตัวทั้งในด้านการบริหาร การจัดการองค์กร รวมไปถึงวิธีการดำเนิน  
2. ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจการศึกษามากขึ้น  
3. สร้างช่องทางการขยายการศึกษามากขึ้น  
4. เกิดการทำงานภายใต้คอนเซปต์ มหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง 
5. ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมทางการศึกษาตลอดเวลา 24 ชั่วโมง  
6. สร้างรูปแบบของความร่วมมือทางการศึกษาหรือเครือข่ายการศึกษาที่หลากหลายขึ้น  
7. ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร  
8. ทำให้เกิดแรงผลักดันในการจัดการศึกษารูปแบบแปลกใหม่มากขึ้น  
9. เป็นตลาดการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเลือกซื้อสินค้าความรู้และบริการการศึกษาจากแหล่งต่างๆทั่วโลก สามารถคัดเลือกและเปรียบเทียบคุณภาพราคา และยังประหยัดเวลาเนื่องจากไม่ต้องเดินทาง (ในขณะนี้มี Website บริการให้เข้าศึกษาก่อนจ่ายเงินที่หลัง)  
10. สามารถรับข้อมูลการศึกษาที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจหลากหลายแง่มุม เช่น รายละเอียดของหลักสูตร ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน รวมถึงยังสามารถให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดการศึกษานั้นๆได้โดยตรงอีกด้วย  
11.ได้รับความสะดวกในการศึกษา เพราะสามารถนั่งศึกษาอยู่ที่บ้านหรือที่ใดๆทั่วโลกที่มีอินเทอร์เนต นอกจากนี้ E-Education ยังช่วยให้สามารถทำการส่งข้อมูลสื่อการศึกษา และการบริการ เช่น Course ware ,ห้องสมุดอิเล็กโทรนิกส์ และ การชำระลงทะเบียนเรียน, ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการให้บริการ เกี่ยวกับ เครื่องมือที่ช่วย สถาบันการศึกษา องค์การจัดการศึกษา ตลอดจนผู้ศึกษาหรือผู้เรียน ลดค่าใช้จ่าย จากการใช้บริการผ่านเครือข่าย 
12. ช่วยให้ข้อมูลและการบริการที่รวดเร็ว ทันสมัย (จะไม่เห็นตำราเอกสารประกอบการเรียนเก่าๆสีเหลืองๆอีกต่อไป) อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป 

บทความ E-Education บางตอนนี้ ได้ดัดแปลงมาจากเอกสาร E-Commerce ของ http://www.cptrading.co.th

เทคโนโลยีกับวาระการศึกษาแห่งชาติ

              ระบบการศึกษาของประเทศไทยได้มีความพยายามในการปฏิรูประบบการศึกษาของชาติ โดยเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2542 จนกระทั่งปัจจุบัน จากเอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ โดยศาสตราจารย์ ดร.เกษม วัฒนชัย ท่านองคมนตรี ได้กล่าวไว้โดยสรุปว่า " การปฏิรูปการศึกษามิไช่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะประเทศต่าง ๆ ล้วนตระหนักดีว่า ความเข้มแข็งและความมั่นคงของประเทศ มาจากการพัฒนาศักยภาพคนในชาติ และจะพัฒนาคนจะต้องอาศัยระบบการศึกษาที่ครอบคลุม เข้มแข็ง มีคุณภาพ และโดยประชาชนมีส่วนร่วม " 
              นอกจากนี้แล้วในเอกสารการปฏิรูปการศึกษาไทย ฉบับนี้ยังได้กล่าวถึง ความรู้และเทคโนโลยี กล่าวคือ มนุษย์สร้างความรู้จากประสบการณ์ตรง และจากการลองถูกลองผิด ทั้งนี้ โดยปัจเจกบุคคล โดยกลุ่ม หรือโดยชุมชนจนเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งฝ่ายตะวันตกและ ฝ่ายตะวันออก โดยมนุษย์ได้นํากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์วิจัยปรากฏการณ์ หรือประสบการณ์ หรือพื้นความรู้เดิมจนเกิดเป็นศาสตร์สาขาต่าง ๆ 
              กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ทําให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางตะวันตกได้รับการพิสูจน์วิจัยจนกลายเป็นศาสตร์สากล แพร่หลายและยอมรับกันทั่วไป หากชาวตะวันออกจะได้นํากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์วิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นฝ่ายตนบ้าง ก็เชื่อว่าจะเกิดศาสตร์ความรู้เชิงสากลได้ เช่นเดียวกัน ดังที่ได้กระทํามาบ้างแล้วในบางประเทศมนุษย์นําความรู้มาใช้งาน 
              เทคโนโลยีคือวิธีหรือรูปแบบของการประยุกต์ความรู้ เพื่อนํามาทํางานให้มนุษย์ หากต้องการจะเพิ่มพูนความรู้ใหม่ในสังคม สังคมนั้นก็ต้องจัดการศึกษาและฝึกอบรมให้ ทุนความรู้ มีมากที่สุด เท่าที่จะทําได้ เมื่อทุนความรู้มีมาก โอกาสที่คนในสังคม คนในชาตินั้นจะสร้าง ความรู้ใหม่ ก็มีมากขึ้นตามไปด้วยส่วนการสร้างเทคโนโลยีต้องอาศัยฐานความรู้ที่มากและรอบด้าน รวมทั้งต้องทําให้คนในสังคม คิดเป็น คือมีจินตนาการและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
              เมื่อเป็นเช่นนี้จะทําให้คนในสังคมยิ่งรู้วิธีประยุกต์ความรู้ คือ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและหลากหลายระบบการศึกษาจึงจําเป็นต้องวางแผนเพื่อให้โอกาสและเพื่อลงทุนทางการศึกษาให้กว้างขวางที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้และคิดเป็น และในที่สุดต้องเน้นการอบรมทางศาสนาและศีลธรรม เพื่อให้เขา มีคุณธรรมและคิดดี ด้วย

              เป้าหมายของการแสวงหา สรรค์สร้าง และเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยี จึงเป็นไปเพื่อ 
(1) เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน 
(2) ประโยชน์และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ 
(3) อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้อิทธิพลและผลกระทบของกระแสโลกาภิวัฒน์และระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ไปทั่วโลกการคมนาคมและการสื่อสาร โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาจนถึงขั้นที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีเรียนรู้และวิถีดํารงชีวิตของประชาชนในหลายประเทศ และขณะนี้กําลังเป็นเครื่องมือสําคัญในการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในอีกหลายๆ ประเทศ 

            ระบบการศึกษาไทยต้องปรับตัวอย่างมาก เพื่อรับภาระในการใช้ระบบสารสนเทศ เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังชนบทและไปยังผู้ด้อยโอกาสในปัจจุบันอย่างเร่งด่วน ประเทศไทยได้ผ่านการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่มาแล้ว โดยพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปในครั้งนั้นมีทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในประเทศ รวมทั้งสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ท่าน 
              ในภาวะปัจจุบัน ประเทศเรากําลังอยู่ในช่วงของการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งภายนอกและภายในประเทศ ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ คงไม่ใช่แค่การทุ่มเททรัพยากร ที่มุ่งตรงไปยังผู้เรียน เท่านั้น หากแต่คงต้องมองถึงการพัฒนาทั้งระบบตั้งแต่ นโยบายของประเทศ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการศึกษา สถานศึกษาซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาทุก ๆ ฝ่าย