การเชื่อมโยงเครือข่าย (Network Connection)
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
สถาบันการศึกษา โดยการนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อจะทำการแชร์ข้อมูล
และทรัพยากรร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลและเครื่องพิมพ์
ซึ่งระบบเครือข่ายของสถานศึกษาขนาดใหญ่และมีฐานข้อมูลจำนวนมากสามารถเลือกใช้รูปแบบ Hybrid ที่เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ
หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
เหมาะสำหรับบางหน่วยงานทีมีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ
Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
![]() |
Hybrid network |
ตลอดจนการใช้โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล หรือ
ไอเอสดีเอ็น (Integrated Services Digital Network, ISDN) ส่วนที่สัมพันธ์กับการพัฒนาโครงแบบเครือข่าย
ไอเอสดีเอ็น เพื่อรองรับการสื่อสารในรูปของเสียง, ข้อมูล,
ภาพ และ วิดีทัศน์ ทั่วโลก ไอเอสดีเอ็น
จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ด้วยรูปแบบเดียว
คือเป็นเครือข่ายดิจิทัลกับกลุ่มของตัวประมวลผลสื่อสารที่ได้มาตรฐาน
เพื่อให้บริการ เสียง ข้อมูล ภาพ และวีดิทัศน์ กับเครื่องปลายทางต่าง ๆ
ในเครือข่ายพาห์ (carrier) สื่อสาร ไอเอสดีเอ็น
จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโทรคมนาคม และ เครือข่ายการส่งผ่านเสียง,
วีดิทัศน์ ข้อมูล สามารถดำเนินการผ่านกิจการโทรศัพท์
และสายโทรศัพท์ธรรมดาในบ้าน, สำนักงาน
เพียงแต่ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์ภาพ (Videophone) กับ เต้ารับโทรศัพท์ ดังนั้น
ไอเอสดีเอ็นจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หลายสื่อ (Multimedia
computing) และการสื่อสาร
อย่างไรก็ตามการพัฒนาดังกล่าวยังคงอยู่กับพาห์สื่อสาร, ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์
และองค์กรผู้ใช้ ซึ่งพบว่าในการเชื่อมโยงเครือข่ายลักษณะนี้ E-Education จะมีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล ดังนี้ •
วิธีการป้องกันข้อมูลทำได้ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)
การเข้ารหัสข้อมูลนี้
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดังนี้
1.ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร (Authentication)
2.ใช้ในการพิสูจน์ว่าได้มีการบันทึกหรือกระทำรายการจริง
(Non-repudiation)
3.ใช้ในการรักษาข้อมูลส่วนตัว
(Privacy) นอกจากนี้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร
แลกเปลี่ยนข้อมูล
และใช้อุปกรณ์ต่างๆ
ในเครือข่ายร่วมกันได้นี้ เกิดประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น
1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง
การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ
มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย
เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิมพ์คนละประเภท)
2. การแชร์ไฟล์
เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว
การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ
ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึกไปได้เลย
ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์
หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม
3. การติดต่อสื่อสาร
โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น
โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน
หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home
Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย
4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบ เน็ตเวิร์ก สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิตอลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น