หากคำตอบของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมายถึง
งบประมาณที่ถูกใช้ในการจัดการศึกษา รวมถึงงบประมาณที่นำมาใช้ในการลงทุนกับเทคโนโลยีและรูปแบบในการจัดการศึกษาเพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีนั้นแล้ว
คุณภาพของบุคลากรทางการศึกษาอาจเป็นคำตอบสำคัญที่ไม่สามารถอ้างอิงกับตัวเลขงบประมาณที่ทุ่มลงไปได้ การพัฒนาคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งไม่ใช่แค่เพียง
E-learning เพราะสิ่งที่ต้องการไม่ใช่เพียงให้ได้เรียนรู้
แต่บุคลากรทางการศึกษามีความจำเป็นจะต้องแปลง Knowledge เป็น
Wisdom ได้ด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีส่วนประกอบมากกว่าแค่เพียง E-learning คือจะต้องมีส่วนประกอบที่จะนำเอาความรู้มาจัดเก็บ
รวบรวมให้มีฐานความรู้ที่มากเพียงพอที่จะเกิดประโยชน์ได้
และกระจายความรู้ออกไปเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้เรียนรู้ตลอดเวลา
นอกจากนี้บุคลากรทางการศึกษาเองก็ต้องมีการปรับตัวด้วยคือ
ต้องมีความกระหายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนางานและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น และแน่นอน
จำเป็นต้องมีการเปลี่ยน Culture ของคนและสร้างแรงกระตุ้นเพิ่มด้วย
เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้ามาเรียนรู้จากระบบ (Self-Learning) ผ่านเทคโนโลยีการถ่ายทอดความรู้ ดังเช่นที่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
ภายใต้แนวคิดว่า จุดสำคัญอยู่ที่การบริหาร
ทูลส์เป็นส่วนเสริมนั่นเอง ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีการถ่ายทอดความรู้ ด้วยสตรีมมิ่งวีดีโอ ของเครือซิเมนต์ไทย โดยปูนซิเมนต์ไทยนำซอฟแวร์ AcuLe@rn มาใช้ในการจัดเก็บความรู้และส่งกระจายไปยังพนักงาน
โดยการถ่ายทอดสดผ่านอินทราเน็ต ซึ่งได้ผลสรุปดังนี้
ขั้นที่ 1 ทำการถ่ายทอดสดได้จากทุกจุด
ที่มีสาย LAN ไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในอินทราเน็ตได้
โดยไม่เป็นอุปสรรค รบกวนงานอื่น ๆ บนเครือข่าย โดยมีรายละเอียดดังนี้ - Bandwidth
Consumption เท่ากับ 218 Kbps ต่อ 1
session ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับแบนด์วิธด์ 1 Gb ของ Cementhai Network และไม่ทำให้ระบบงานอื่นช้าลง
- Boardcast Method เป็นการกระจายแบบ Multicast ซึ่งจะช่วยลดโหลดการใช้แบนด์วิดธ์ลง
เนื่องจากระบบนี้จะส่งผ่านข้อมูลระหว่างจุดต่าง ๆ เพียง 1 session เท่านั้น
โดยกระจายทราฟฟิกโหลดไปตามสวิทซ์ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ฮับตามชั้นต่าง ๆ ในบริเวณ
ขั้นที่ 2 สำหรับการถ่ายทอดสดไปยังเครือข่ายที่อยู่นอกบริเวณ
จำเป็นต้องใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์และซอฟแวร์เพิ่มเติม คือ AcuSTREAM
และ AcuMANAGER เพื่อทำหน้าที่จัดทราฟฟิกของแบ็กโบนระหว่างภายในบริเวณกับ WAN ที่อยู่นอกบริเวณ
หมายเหตุ
1. AcuSTUDIO/LIVE, AcuSTREAM และ AcuMANAGER
เป็นซอฟต์แวร์ในชุด AcuLe@rn ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาคอนเทนต์ได้อย่างรวดเร็ว
รวมทั้งสามารถกระจายคอนเทนต์ที่เป็นมัลติมีเดีย ทั้งวิดีโอ เสียง และพรีเซนเทชันไปตามเน็ตเวิร์กภายในและ WAN
2. ก้าวต่อไป ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา (Classroom Technology) ห้องเรียนที่ติดตั้งอุปกรณ์ทันสมัยและเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้
(Virtual Classroom) หรือห้องเรียนเสมือน
ที่ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับครูผู้สอน วิทยากรและผู้เรียนอื่น ๆ ในลักษณะ Two-way Communication และสามารถจำลองสถานการณ์
หรือการทดลองต่าง ๆ ได้เสมือนจริง - Blended Learning Technology โดยนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสรรหาซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยมาใช้
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันสมัย จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาผ่านบุคลากรทางการศึกษาที่นับว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการเดินเครื่องเพื่อให้การศึกษาของชาติได้พัฒนาไปอย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
ซึ่งนับว่ามีบทบาทไม่น้อยในการที่จะเป็นส่วนส่งเสริม
สนับสนุนและผลักดันให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา
เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาบุคลากรที่สำคัญของชาติ
โดยมีคุณภาพของเยาวชนไทยในอนาคต
ที่จะเป็นคำตอบสุดท้ายในการจัดการคุณภาพการศึกษาของชาติในวันนี้ ข้อมูล เทคโนโลยีการถ่ายทอด ของ บริษัท
ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด จาก นิตยสาร
![]() |
Intranet |
![]() |
E-Learning |